ทำไมใครๆก็ปวดหลังล่างเมื่ออายุมากขึ้น อาการนี้เกิดจากอะไร และการฉีดยาข้อต่อหลังส่วนล่างจะช่วยได้หรือไม่ มาอ่านกันเลย
อาการปวดหลังส่วนล่างมีกี่ประเภท?
อาการปวดหลังส่วนล่างจะแบ่งออกได้ตามบริเวณที่ปวด 2 ประเภทคือ
- ปวดหลังเฉพาะหลังส่วนล่าง: อาการปวดส่วนใหญ่เป็นที่หลังส่วนล่างเท่านั้น อาจมีปวดร้าวลงสะโพกบ้างแต่ไม่ลงถึงเข่า มักเกิดจากการอักเสบหรือการเสื่อมสภาพของข้อข้อต่อหลังส่วนล่าง (facet joint)
- ปวดหลังส่วนล่างร่วมกับปวดร้าวลงขา: มีอาการปวดหลังส่วนล่าง และปวดร้าวลงขาโดยเฉพาะปวดร้าวต่ำกว่าเข่า มักเกิดจากการระคายเคืองเส้นประสาทที่มาเลี้ยงขา การรักษาด้วยการฉีดสเตียรอยด์เข้ารูรากประสาทส่วนล่างมักจะได้ผลดี
การฉีดยาข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนล่าง คืออะไร?
การฉีดยาชาและ/หรือสเตียรอยด์ในปริมาณเล็กน้อยลงไปในข้อต่อเพื่อบรรเทาการอักเสบและอาการปวด และยังช่วยยืนยันว่าเป็นข้อต่อที่ทำให้คุณเกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง
ใครเหมาะจะฉีดยาข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนล่างบ้าง?
- มีอาการปวดเฉพาะหลังส่วนล่าง อาจะมีอาการร้าวลงสะโพก แต่ไม่ร้าวลงขา
- ปวดหลังส่วนล่างนานเกิน 3 เดือน อาการไม่ดีขึ้นแม้ทานยาและทำกายภาพบำบัด
ระยะเวลาในการทำหัตถการ
ใช้ระยะเวลาในการทำหัตถการโดยประมาณ 15-20 นาที โดยผู้ป่วยจะได้รับยาชาเฉพาะที่ก่อนทำหัตถการเพื่อลดความรู้สึกเจ็บขณะทำหัตถการ
ขั้นตอนการทำหัตถการ
- ผู้ป่วยนอนคว่ำบนเตียง
- แพทย์จะใช้ X-ray เพื่อหาตำแหน่งของข้อต่อกระดูกสันหลัง
- แพทย์ฉีดยาชาและ/หรือสเตียรอยด์เข้าไปยังบริเวณข้อต่อ อยากจะรู้สึกตึงๆเล้กน้อย แต่โดยปกติแล้วผู้ป่วยจะสามารถทนการทำหัตถการได้
ผลลัพธ์หลังการทำหัตการ
- ผลจากการฉีดยาชา ผู้ป่วยจะหายปวดทันทีหากมีข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม เป็นการช่วยยืนยันว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด
- การฉีดยาสเตียรอยด์จะช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวด ผู้ป่วยที่ตอบสนองดีต่อการฉีดสเตียรอยด์จะเบาปวดได้นานกว่า 3 เดือน
- ผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อสเตียรอยด์ได้ไม่นานถึง 3 เดือน แพทย์จะพิจารณาการทำจี้ไฟฟ้าเส้นประสาทข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนล่าง เพื่อลดปวดระยะยาว
หลังการรักษาต้องดูแลร่างกายอย่างไรบ้าง?
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้แรงมากในช่วง 24 ชั่วโมง
- กลับไปทำกิจกรรมตามปกติในวันถัดไป
- อาจมีอาการระบมเล็กน้อยบริเวณที่ฉีด มักจะหายไปภายใน 1-2 วัน
วิธีป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่าง
- ฝึกการยืนและนั่งในท่าทางที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน
- ออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและแกนกลาง
- พักยืดเหยียด เป็นระยะๆ หากต้องนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน
- ใช้เตียงนอนและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับสรีระของร่างกาย
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิง รรินทร ชุมสาย ณ อยุธยา แพทย์เฉพาะทางด้านการระงับปวด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายได้ที่ PS Center Pain Clinic
โทร 02-125-3959, 098-195-0991