ปัญหามลภาวะในกรุงเทพเข้าสู่ขั้นวิกฤตโดยค่า PM 2.5 มีค่าสูงถึง AQI 200 นี่อาจะเป็นสาเหตุทำให้คนเกิดอาการปวดเรื้อรัง โดยเมื่อเราสูดฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนนี้เข้าไป อนุภาคของฝุ่นจะสามารถเข้าลึกลงไปยังปอดและเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดการกระตุ้นการอักเสบ และกระตุ้นสารอนุมูลอิสระในร่างกาย
สูดฝุ่นมากๆจะเป็นยังไง?
- ร่างกายอักเสบเกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันผิดปกติของร่างกาย ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเกิดอาการปวดเรื้อรัง
- สารอนุมูลอิสระสูงขึ้นทำลายเซลล์ของร่างกาย รบกวนการทำงานของเส้นประสาท ทำให้เรารับรู้อาการปวดได้ง่ายขึ้น
- เกิดความไวของเส้นประสาทส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรังได้ง่าย เช่น โรคไฟโบรไมอัลเจีย
PM 2.5 มีผลต่อการปวดจริงหรือไม่?
มีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของ PM 2.5 ต่ออาการปวด พบว่าผู้ที่สัมผัสกับ PM 2.5 มีความเสี่ยงในการเกิดโรค ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลำไส้อักเสบจากภูมิคุ้มกันตนเองมากขึ้นถึง 13% ซึ่งกลไกที่อาจอธิบายได้มากที่สุดคือเกิดการกระตุ้นสารอักเสบและภูมิคุ้มกันผิดปกติในร่างกาย
เราจะป้องกัน PM 2.5 ได้อย่างไร?
ท่ามกลางมลภาวะสูงสุดในประวัติการณ์ของกรุงเทพ การป้องกันตนเองจากมลภาวะเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรงดการออกกำลังกายกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ควรสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 แม้อยู่ในห้องปิดควรใช้เครื่องฟอกอากาศ ซึ่งการหลีกเลี่ยงมลภาวะเหล่านี้จะช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างแน่นอน
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิง รรินทร ชุมสาย ณ อยุธยา แพทย์เฉพาะทาการระงับปวด
เอกสารอ้างอิง: Environmental air pollution and risk of autoimmune diseases: A population-based cohort study. RMD Open, 8(1), e002055.